ยินดีต้อนรับสู่ konEsan.page.tl ฅนอีสาน website ของฅนอีสาน เพื่อฅนไทยทุกฅน
konEsan ฅนอีสาน - อุบลราชธานี
 

หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
สินค้าและบริการ
gallery
ภาคอีสาน
=> ข้อมูลภาคอีสาน
=> ภาษาอีสานวันละคำ
=> ภูมิปัญญาท้องถิ่น
=> อุบลราชธานี
webboard
board
ผู้เข้าชม
สมุดเยี่ยม
ติดต่อเรา
Link

จังหวัดอุบลราชธานี 
        
       การก่อตั้งจังหวัดอุบลราชธานี           เริ่มต้นขึ้นเมื่อราว  พ.ศ.2310 เมื่อเจ้าพระวอ และเจ้าพระตา สองพี่น้องที่เป็นเสนาบดีเมืองเวียงจันทร์ เกิดขัดแย้งกับพระเจ้าสิริบุญสารเจ้าผู้ครองนคร จึงชักชวนพรรคพวก  ไพร่พลอพยพข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปตั้งรกรากอยู่ ณ เมืองหนองบัวลุ่มภู ที่เจ้าฝางคำผู้เป็นบิดา ได้เคยปกครองมาก่อน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างกำแพง ป้อมค่ายเสริมความมั่นคงแก่ตัวเมืองเพื่อป้องกันตนเอง แล้วขนานนามเมืองขึ้นใหม่ว่า "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" 
       ต่อมา  ท้าวคำผงได้ย้ายเมืองมาอยู่ในบริเวณ "ดงอู่ผึ้ง" ริมแม่น้ำมูล  สร้างเมืองที่มั่นคงขึ้นในราว พ.ศ. 2322 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โดยให้ชื่อว่า  เมืองอุบล  เจ้าเมืองคนแรกก็คือท้าวคำผง (บุตรพระตา) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์ภายหลังเป็นพระปทุมราชวงศา ขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรี 
       
       ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จังหวัดอุบลราชธานีมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช  ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ  การปกครองยึดหลักจารีตประเพณีโบราณ ที่สืบต่อเนื่องกันมาจากหลวงพระบาง นครเวียงจันทร์ ผู้ปกครองสูงสุดมีฐานทางตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง
ภายหลังได้มีการปฏิรูปการปกครอง เพราะเจ้าเมืองของสยามประเทศในแถบภาคอีสาน ดูแลไม่ทั่วถึง ประเทศมหาอำนาจต่างแสวงหาเมืองขึ้น ฝรั่งเศส ได้เข้ายึดเวียดนามและกัมพูชา อีกทั้งยังพยายามที่จะบีบบังคับสยามประเทศตลอดเวลา เพื่อยึดเอาดินแดนให้เป็นเมืองขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้จัดการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเสียใหม่ โดยรวบรวมเอาหัวเมืองต่างๆ เอก โท ตรี และจัตวา แต่เดิมมารวมตัวเข้าด้วยกัน แล้วจัดเป็น 4 กอง มีข้าหลวงกำกับการปกครอง กองละ 1 คน และให้มีข้าหลวงใหญ่กำกับราชการอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ อีก 1 คน
       ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิรูปการบริหารงานส่วนภูมิภาคอีกครั้ง โดยให้จังหวัดเป็นหน่วยราชการทางการปกครองท้องถิ่นที่สำคัญที่สุด
       อุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่สำคัญ มีพื้นที่กว้างขวางและประชากรอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก การดำรงชีวิตของผู้คนแต่ครั้งอดีต จนกระทั่งปัจจุบันเป็นไปอย่างเรียบง่าย เช่นเดียวกับชาวชนบทในภูมิภาคอื่นๆ 

          เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอุบลราชธานีที่สั่งสมกับสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานนั้น ปรากฏอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านความเชื่อ ประเพณีต่างๆ การกิน การอยู่ การละเล่น และหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน ความอุตสาหวิริยะในการผลิต เช่นเรื่องจักสาน ภาชนะดินเผา ผ้าทอ และการหล่อเครื่องใช้ทองเหลือง เป็นต้น
       แม้ว่ากรรมวิธีและเทคนิคในการผลิตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันค่อนข้างจะล้าหลัง เพราะคงรูปแบบเดิมไว้ค่อนข้างมาก แต่เป็นความล้าหลังที่ตั้งอยู่บนฐานของการพึ่งพาตนเอง อาศัยวัสดุจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  นำมาใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือเครื่องใช้ในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม มิได้ก่อให้เกิดมลภาวะแก่ชีวิตดังเช่นในปัจจุบัน

 
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$ This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free